ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่อยู่ในกลางหน้าฝนซึ่งหลายท่านหลายคนก็สนใจหันมาทําเกษตรมีการเตรียมพื้นที่สําหรับปลูกนั่นปลูกนี่ วันนี้เราจะมาแชร์แนวทาง ก่อนตัดสินใจวางแผนทำเกษตร หรือก่อนตัดสินใจจะปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นหรืออะไรสักอย่างในแปลงของเรามันมีสิ่งจําเป็นที่เราต้องรู้ 6 เรื่องซึ่งเรา akatommychong ได้รวบรวมมาไม่ว่าจะปลูกอะไรบนพื้นที่แบบไหนก็จะได้ผลผลิตสูง
สิ่งที่ควรรู้ 6 ก่อนตัดสินใจวางแผนทำเกษตร ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อไม้ผล ไม้ยืนต้น
1. เราต้องรู้จักดินหรือพื้นที่ที่เราจะทําเกษตร
ดินในแปลงนี้มันเป็นอย่างไร ดินเหนียวหรือเปล่า ดินร่วนหรือเปล่า เป็นดินทรายหรือไม่ และที่สําคัญค่ากรดด่างของดินเป็นอย่างไร อันนี้ไม่ต้องไปหาซื้อเครื่องมือมาวัดแต่อย่างไร เพียงแค่เราสังเกตุหญ้าที่มันสวยถ้าบริเวณไหนที่หญ้าแห้งๆ ฝนตกยังไงหญ้ามันก็ไม่งามมีใบเหลืองมีใบเป็นจุดสีน้ําตาลแสดงว่าดินตรงนั้นไม่ดีนี่คือสิ่งที่ต้องสังเกตุ
และต้องสังเกตุด้วยว่าสภาพพื้นที่ที่เราจะทำการเกษตรมันมีน้ําท่วมขังหรือไม่ ไม่ใช่แต่ละปีมีน้ําท่วมขัง มีน้ําผ่าน บางทีเราปลูกอะไรลงไป ปัญหารากเน่า โคนเน่า มันจะตามมา ถ้าเรารู้จักสังเกตเราก็จะได้เลือกพืชที่จะมาปลูกตรงตามพื้นที่
อย่างเช่น เราจะทําสวนมะละกอ พื้นที่ของเราเป็นพื้นที่น้ําขังหรือบางทีน้ําผ่าน อันนี้ก็ส่งผลต่อระบบราก เพราะว่ามะละกอเป็นพืชอวบน้ํามีระบบรากที่อ่อนแอ ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ พวกไม้เถาก็เช่นกัน อย่างเช่น ถั่วฟัก แตง บวกพวกนี้ ถ้าปลูกบนสภาพพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวจัดหรือมีน้ําท่วมขังส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาในระบบราก
แต่ถ้าเป็นสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่น้ําผ่านไม่ท่วมขังนาน ถ้าจะปลูกอะไรก็แนะนําให้ยกร่องหรือถ้าเป็นดินเหนียวก็เอาทรายมาเป็นส่วนผสม แต่ถ้าเป็นดินทรายก็หาหน้าดินมาเป็นส่วนผสมโดยการเติมอินทรีย์วัตถุเข้าไป แต่ถ้าเป็นดินลูกรังเลยก็จัดการเอาหน้าดินมาปลูกเหมือนกันโดยที่ไม่ต้องไปขุดอะไรลึก
และที่สําคัญเราต้องสังเกตได้ว่าดินมีอินทรีย์วัตถุมากแค่ไหน ดินตรงไหนที่พอที่จะทําเป็นสวนได้ก็ปรับปรุงนิดหน่อย ส่วนดินตรงไหนที่มันแย่จริงๆ เราก็หาไม้ยืนต้นมาปลูก โดยเฉพาะไผ่เหมาะมากสําหรับปลูกบนสภาพดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ มันสามารถเจริญเติบโตได้ทุกที่
ถ้าดินไม่ดีเลยก็เน้นไผ่ใช้ลํา ไผ่สร้างไพร ไผ่สร้างมนต์ หรือไผ่ฟ้าหม่น เพราะว่าเราต้องการใบไผ่ให้มันหล่นลงมาเป็นปุ๋ยบํารุงดินในที่มันดินไม่ดี ต่อไปดินของเราก็จะค่อยๆปรับสภาพไป นี่คือสิ่งแรกที่เราต้องทำความรู้จักและทําความเข้าใจ
2. เราต้องรู้จักสภาพอากาศในที่เราอยู่
สภาพอากาศบ้านเราเป็นยังไง พื้นที่ที่เราอยู่มันสูงกว่าระดับน้ําทะเลมากแค่ไหน ที่สําคัญเราต้องสํารวจแปลงข้างๆด้วย ว่าเขาปลูกอะไรมาก่อน ผลผลิตได้ดีหรือไม่ เพราะว่าในแต่ละพื้นที่มันมีสภาพภูมิอากาศ ภูมิศาสตร์ที่ต่างกัน อาทิเช่น บางคนเอาลําไยไปปลูกในเขตภาคอีสาน ปลูกมา 5-6 ปี มันไม่ติดผลสักที
เหตุผลก็เพราะว่าสภาพอากาศไม่ให้ แต่มันก็มีวิธีอยู่มันก็มีสารสําหรับทําให้ออกดอกติดผลเหมือนกัน นี่คือสิ่งที่ 2 ที่เราต้องรู้จัก ก็คือสภาพอากาศที่เราอยู่ แล้วเราก็ไปค้นหาข้อมูลของต้นไม้ที่เราจะปลูกว่าพืชชนิดนี้มันต้องการอากาศแบบไหน
อย่างเช่น ทุเรียน ต้องการสภาพกาศที่มีความชื้น 70% ขึ้นไป ส่วนใหญ่มันจะเจริญเติบโตได้ดี ในเขตภาคกลางหรือในเขตภาคใต้ แต่ในยุคปัจจุบันภาคอีสานก็มีปลูกกันเยอะ แต่ผลผลิตมันก็ขึ้นอยู่กับบางพื้นที่แต่ก็สามารถปลูกได้ไม่ใช่ว่าศึกษาจนกลัวไม่กล้าปลูกอะไร
3. เราต้องรู้จักสภาพน้ําที่ใช้รดพืชผักของเรา
น้ําในสระของเราเป็นอย่างไร ความเป็นกรดเป็นด่างสูงแค่ไหน ซึ่งค่าน้ํามาตรฐานที่สามารถทําให้สัตว์น้ําและพืชผักเจริญเติบโตได้ดีก็คือ 6.5-9.0 โดยประมาณ คือมีค่าความเป็นกรดอ่อนๆ ไปถึงกับมีความเป็นด่างก็คือ 9.0 ซึ่งในน้ําบาดาลหรือในสระน้ําในบางพื้นที่จะมีความเป็นกรดสูง อันนี้เราต้องทําบ่อพักไว้ก่อนเพื่อสลายกรดด้วยปูนขาวหรือโดโนไมท์
ทําไมเราต้องทําความรู้จักค่าน้ําด้วยเพราะว่าในการทําเกษตรยุคนี้มันไม่ใช่แค่ปลูกผัก บางส่วนเขาก็เพาะเห็ดตับเต่า เพาะเห็ดฟาง เพาะเห็ดนางฟ้าประมาณนี้ ซึ่งค่าน้ําที่มีความเหมาะสมในการใช้รถพืชผัก หรือแม้กระทั่งเห็ด หรือแม้กระทั่งเลี้ยงปลา มีค่าตั้งแต่ 6.5-9.0 มันจะไม่เป็นอันตรายต่อทั้งพืชจุลินทรีย์และสัตว์ที่อยู่ในน้ํา
คือมันเจริญเติบโตได้ดี เพราะว่าการเพาะเห็ดมันก็ต้องใช้น้ําเพื่อการเพาะเลี้ยง และที่สําคัญเห็ดก็คือเชื้อราที่กินได้ เป็นเชื้อราชั้นสูง ถ้าเราเอาน้ําที่มีความเป็นกรดสูงไปรด มันก็ให้ผลผลิตเหมือนกัน แต่ว่าผลผลิตที่ได้นั้นจะน้อยกว่าน้ำที่มีค่าที่แนะนำ เพราะฉะนั้นน้ําที่ได้จากแหล่งธรรมชาติที่ไม่มีคลอรีน หรือมีค่าความเป็นกลาง นี่ก็คือสิ่งที่สําคัญที่เราต้องทําความรู้จัก และทําความเข้าใจนั่นก็คือสภาพน้ํา
4. เราต้องรู้จักต้นไม้ที่จะปลูก
ต้นไม้ที่เราจะปลูกเป็นแบบไหนกิ่งตอนหรือกิ่งชําเป็นพืชเมืองหนาวหรือพืชเมืองร้อนเป็นพืชใบเลี้ยงคู่หรือใบเลี้ยงเดี่ยว นี่ดอกสมบูรณ์เพศหรือไม่ อย่างเช่นต้นพันธุ์ที่เราซื้อมาเป็นแบบกิ่งตอน เราอาจจะไม่ต้องขุดหลุมลึก แค่ตีวงกว้างๆก็พอ เพื่อให้รากฝอยกระจายตัวได้ดีเพราะว่ามันไม่มีรากแก้ว แต่ถ้าเป็นกิ่งชํา เป็นกิ่งเสียบยอด เสียบข้างมันจะเป็นกิ่งที่มีรากแก้ว ก็ต้องขุดหลุมลึกนิดหนึ่ง หรือไม่ก็สับดินให้มันมีรูพรุนสูงให้มีโพรงอากาศ เพื่อรากแก้วจะดิ่งลงไปได้
อีกอย่างหนึ่งก็คือต้องรู้จักว่าต้นไม้ที่เราจะปลูก มันเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่เราอยู่หรือไม่ เป็นพืชเมืองหนาวหรือพืชเมืองร้อน ยกตัวอย่างเช่น ลําไยเป็นพืชเมืองหนาว ชอบอากาศเย็น ลองสังเกตได้เลยในบางปีที่อากาศหนาวเย็นติดต่อกันนานๆประมาณครึ่งเดือนทั่วทุกที่ ลําไยจะให้ผลผลิตสูงมากโดยเฉพาะภาคเหนือแต่ถ้าสภาพอากาศไม่หนาวจัดไม่หนาวติดต่อกันนานในเขตภาคอื่นโดยเฉพาะภาคอีสานลําไยจะไม่ติดผลเลยเพราะว่ามันเป็นพืชเมืองหนาวนั่นเอง
แต่ก็สามารถปลูกได้ในยุคปัจจุบันนี้ เพราะว่ามันมีสารเร่งสารกระตุ้นให้ติดดอกออกผล สารโพแทสเซียมคลอเรต สําหรับลําไยทํานอกฤดูก็ได้ทําในฤดูก็ดี สําหรับมะม่วงที่ไม่ติดดอกออกผลหรือแม้กระทั่งทุเรียนมันมีวิธีการอยู่นี่ก็เป็นสิ่งสําคัญเราต้องรู้จักต้นไม้ที่เราจะปลูก
5. เราต้องรู้จักช่วงเวลาปลูก
ปลูกช่วงไหนไม่ต้องรดน้ําบ่อย ปลูกช่วงไหนทนแล้ง ปลูกช่วงไหนไม่เสี่ยงโรคแมลง อย่างเช่น ฟักทอง ถ้าปลูกช่วงต้นฝนพอได้ แต่ถ้ากลางฤดูฝนส่วนใหญ่มันจะเกิดปัญหาเรื่องรากเน่า ผลผลิตน้อย นั่นเป็นเพราะว่าฟักทอง มันชอบความชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ
พืชตระกูลถั่วก็เช่นกัน ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกก็คือช่วง ต้นฤดูฝน อาจจะเป็นช่วงฝนชุดแรกของเดือนเมษายน ซึ่งจะอยู่ในช่วงวันที่ 15 ของเดือน ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่ดีในการปลูก โดยเฉพาะการปลูกไผ่เขาชอบปลูกกันในช่วงนี้ พูดง่ายๆก็คือช่วงต้นฝน เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกพืชทุกชนิด แต่พืชบางชนิดก็ไม่ชอบน้ําขัง อย่างเช่น พวกไม้เถาต่างๆหรือมะละกอ กล้วย
6. เราต้องรู้วิธีการปลูกและวิธีการดูแลในแต่ละระยะ
วิธีการปลูกทุกคนน่าจะพอรู้อยู่บ้าง การปลูกต้นไม้กิ่งเสียบยอดขุดให้ลึกนิดหนึ่ง เพราะว่ามีรากแก้ว กิ่งต้นไม้ก็ตีวงให้กว้างเพราะว่ามันมีแค่รากฝอยพืชอวบน้ํายกร่องอย่าให้น้ําขังไผ่ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่แต่อย่าให้น้ําขังนานผักกินใบ คะน้า กวางตุ้ง ปลูกช่วงหน้าหนาวให้ผลผลิตดีและที่สําคัญเราต้องรู้จักวิธีการดูแลในแต่ละระยะพืชมันมีการเจริญเติบโตอยู่ 3 ระยะ
- ระยะที่หนึ่ง ระยะปลูกใหม่ ระยะนี้ยังไม่ต้องการปุ๋ยเท่าไหร่ ต้องการแช่น้ํา บางคนปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ยไม่มีประโยชน์ เพราะว่าช่วงนี้ระบบรากยังไม่กระจายตัวดีเมื่อใส่ปุ๋ยเข้าไปมันก็เปลืองเฉยๆ ยิ่งเป็นช่วงหน้าฝน ฝนชะล้างไปหมด
- ระยะที่สอง เริ่มมียอดออกมา มีทรงพุ่มขึ้นมาให้เห็นนิดหนึ่ง นั่นแสดงว่ารากเขากระจายตัวออกมาได้สักพัก เราก็ค่อยๆใส่ปุ๋ยเข้าไปตามการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม ไม่ได้ใส่ทีเดียวเยอะๆ ค่อยๆเพิ่มปริมาณปุ๋ยเข้าไป ก็คือค่อยๆเติมเข้าไปในช่วงเดือนแรกอาจจะใส่สักครึ่งกิโลหว่านรอบ 2 พุ่ม พอเดือนที่ 2 ที่ 3 ก็ใส่เพิ่มปริมาณเข้าไปเรื่อยๆ แต่ถ้าใส่ไปแล้วเห็นปลายยอดมีรอยไหม้ก็อย่าเพิ่งใส่ต่อ เพราะระบบรากยังไม่แข็งแรงพอ ในระยะที่สองนี่เองเป็นระยะที่พืชกําลังเจริญเติบโตและกําลังสะสมสารอาหารธาตุอาหาร เพื่อจะสร้างตาดอกเพื่อติดดอกออกผลต่อไป ระยะนี้สําคัญแต่ระยะปลูกแรกๆไม่จําเป็นต้องใส่ปุ๋ย
- ระยะที่สาม ช่วงที่กําลังติดดอกออกผล ช่วงนี้พืชก็ต้องการปริมาณธาตุอาหารเหมือนกัน แต่ว่ามันจะค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆตามความแก่ของผลผลิตในช่วงปลูกใหม่ ธาตุอาหารที่จําเป็นที่สุดก็คือไนโตรเจน ไนโตรเจนหาได้จากปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก แต่ในช่วงระยะที่สอง ธาตุอาหารทั้ง 3 อย่าง ต้องการทั้งหมดเลย ก็คือ NP ไนโตรเจนฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ถ้าเน้นปุ๋ยเคมีก็ใช้สูตรเสมอ15ไปเลย แต่ในช่วงกําลังสะสมอาหารเพื่อสร้างตาดอก ต้องการฟอสฟอรัสกับโพแทสเซียมสูง ควรไนโตรเจนลงมา ก็คืออาจจะใช้ปุ๋ยสูตร ตัวกลางตัวหลังสูง แต่ตัวกลางหรือฟอสฟอรัสเราต้องศึกษาอีกทีหนึ่ง เพราะว่าถ้าสภาพดินเรามีความเป็นกรดสูงเกินไปหรือด่างสูงเกินไป ใส่ฟอสฟอรัสเข้าไปก็ไม่เกิดประโยชน์
นี่ก็คือสิ่งที่เราต้องทําความรู้จักก่อนลงมือทำการเกษตร ทั้ง 6 เรื่องได้แก่ รู้จักดิน รู้จักสภาพอากาศ รู้จักสภาพน้ํา รู้จักต้นไม้ที่จะปลูก รู้จักช่วงเวลาที่จะปลูก และสุดท้ายรู้จักวิธีการและวิธีการดูแลในแต่ละระยะของการเจริญเติบโต นํามาเล่าสู่กันฟังเพื่อประกอบการตัดสินใจสําหรับท่านที่สนใจทางด้านทำการเกษตร
สนับสนุนบทความโดย :: slotdirect777