Monday, 25 March 2024

6 ความเป็นมา อาหารจีน ที่คนไทยคุ้นเคย

25 Feb 2023
296

อาหารจีน

จีนเป็นชนชาติที่ร่ำรวยด้านศิลปวัฒนธรรมในด้านต่างๆมาช้านาน ซึ่งรวมถึงอาหารที่ครองใจผู้คนไปทั่วโลก อาหารจีน หลายต่อหลายอย่างล้วนมีกรรมวิธีการปรุงและมีที่มาที่น่าสนใจ วันนี้เรา akatommychong จึงขอรวบรวมเอา 6 ความเป็นมาอาหารจีนที่คนไทยคุ้นเคย ลองมาดูกันสิว่ามีอาหารจีนที่เพื่อนๆชอบรวมอยู่ในนี้กันบ้างรึเปล่านะ

อาหารจีน ยอดนิยม ของคนไทย

1. เกี๊ยว…อาหารมงคลวันขึ้นปีใหม่

เกี๊ยวที่นิยมทำกันในบ้านเราอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือแบบที่มีแป้งหนาห่อจับจีบสวยงาม ที่นำไปนึ่งหรือนำไปทอดเรียกว่าเจี๊ยวซื้อ หรือที่มีลักษณะเป็นแป้งบางๆมองเห็นไส้ด้านใน ใส่น้ำซุปก๋วยเตี๋ยวหรือที่ชาวต่างชาติเรียกกันว่าวินเทิร์น

เกี๊ยว

คนจีนรู้จักนำแผ่นแป้งมาห่อเนื้อสัตว์ไว้ด้านในมานานเกือบ 2,500 ปีแล้วแต่เมื่อกว่า 1,800 ปีมานี้เอง ที่หมอยานามว่า จางจ้งจิ่ง คิดค้นเกี๊ยวสูตรพิเศษขึ้นมา สำหรับกินแก้หนาว แก้ปัญหาหิมะกัด ด้วยการนำเนื้อแพะมาบดและใส่สมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยาเข้าไป เพื่อนำมาทำเป็นไส้และเป็นที่แพร่หลายในเวลาต่อมา จนเกี๊ยวได้รับการพัฒนาสูตรให้หลากหลาย

กลายเป็นอาหารที่รับประทานกันโดยทั่วไปและเป็นอาหารมงคลที่นิยมทำกันในช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะวันตรุษจีนขึ้นปีใหม่เพราะเกี๊ยวแสดงถึงความรักใคร่กลมเกลียวในครอบครัวและมีหน้าตาเหมือนกับก้อนเงินก้อนทองในสมัยโบราณอีกด้วย

บะหมี่

2. บะหมี่…อาหารประจำวันเกิด

นี่เป็นหนึ่งในอาหารที่เก่าแก่ที่สุดของชาวจีนมีความเป็นมาย้อนหลังไปกว่า 4,000 ปี มีการนำเมล็ดข้าวมาบดแล้วขึ้นรูปใหม่ โดยในระยะแรกมีลักษณะเป็นแป้ง ตัดเป็นแผ่นเล็กๆ ส่วนบะหมี่เส้นผอมบางและยาว เริ่มมีให้เห็นในช่วงราชวงศ์จิ้นหรือราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5

และถ้าชาติตะวันตกต้องเป่าเทียนกินเค้กกันในวันเกิด สำหรับชาวจีนก็มีธรรมเนียมรับประทานบะหมี่กันในวันเกิด เพื่อให้มีอายุยืนยาวเหมือนเส้นบะหมี่ กรรมวิธีและเทคนิคการผลิตยังได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งวิธีการทำเส้นสด การรับประทานแบบเย็น แบบร้อน การทำให้แห้งเพื่อเก็บรักษาได้นานๆ

รวมไปถึงการพัฒนาสูตรการปรุงบะหมี่แบบต่างๆทำให้เส้นบะหมี่แทบจะกลายเป็นอาหารที่เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติจีนไปในปัจจุบัน

หมั่นโถ-ซาลาเปา

3. หมั่นโถ-ซาลาเปา คิดค้นโดยขงเบ้ง

หมั่นโถเป็นต้นกำเนิดของซาลาเปาทำจากแป้งแบบเดียวกันแต่ไม่มีไส้ และผู้ที่เป็นคนริเริ่มให้ทำอาหารชนิดนี้ขึ้นมาก็คือ จูกัดเหลียงหรือขงเบ้ง นักปราชญ์กุนซือคู่ใจเล่าปี่ โดยย้อนกลับไปในยุคของ 3 ก๊ก ในขณะที่ขงเบ้งเดินทางกลับจากทำศึกต้องยกทัพข้ามแม่น้ำแต่เกิดอุปสรรคจึงจัดพิธีบวงสรวงเทพเทวดาและแทนที่จะต้องตัดหัวคนเป็นๆมาเซ่นสังเวย ก็ใช้วิธีนำแป้งมาปั้นแล้วนำมาทำพิธีแก้เคล็ด เรียกกันว่าหมั่นโถ ซึ่งหมายถึง ศีรษะของชาวหมันที่ทางกองทัพเพิ่งจะไปทำศึกมีชัยชนะมา

แม้จะมีผู้ท้วงติงว่าชาวจีนมีการนำแป้งมาทำเป็นก้อนในลักษณะนี้อยู่ก่อนแล้ว แต่ผู้ที่ทำให้หมั่นโถเป็นที่รู้จักในวงกว้างก็คือขงเบ้ง ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการพัฒนานำเนื้อสัตว์มาทำเป็นไส้มาใส่ไว้ด้านใน ในรูปแบบของซาลาเปาอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ขนมไหว้พระจันทร์

4. ขนมไหว้พระจันทร์…กู้ชาติ

ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนถือกำเนิดขึ้นเมื่อราว 3,000 ปีก่อน เดิมไม่ได้มีหน้าตาแบบที่เห็นกันในทุกวันนี้และเรียกขานกันในชื่ออื่น แต่เป็นขนมเปี๊ยะทรงกลมที่ทำขึ้นเพื่อระลึกถึงบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์และไว้บูชาพระจันทร์เฉลิมฉลองในเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง

ต่อมามีการพัฒนารูปทรงและส่วนผสมอย่างต่อเนื่องและเป็น Yang Yuhuan สนมเอกของจักรพรรดิในสมัย ราชวงศ์ถัง ผู้มีความงามเป็นเลิศเป็นผู้ตั้งชื่อขนมชนิดนี้ว่า ขนมไหว้พระจันทร์ และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ขนมไหว้พระจันทร์ยังมีบทบาทสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 เมื่อชาวจีนแอบลักลอบนำจดหมายไปใส่ไว้ในขนม นัดแนะที่จะร่วมมือร่วมใจกันก่อการกบฏ ทำรัฐประหารชาวมองโกได้สำเร็จ และสถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้นมาในเวลาต่อมา และมีการเฉลิมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ตามปฏิทินจีนเป็นประจำทุกปี

บ๊ะจ่าง

5. บ๊ะจ่าง…บูชาเทพเจ้ามังกร

บ๊ะจ่างเป็นอาหารที่ทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน 4 เทศกาลสำคัญของชาวจีนนอกเหนือจากตรุษจีน เชงเม้ง และไหว้พระจันทร์ การไหว้บะจ่างมีการผูกโยงกับตำนานที่มาถึง 3 เรื่องด้วยกัน โดยเริ่มจากวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีนอยู่ในช่วงฤดูร้อนและถือเป็นวันแรง ต้องทำพิธีปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บอากาศและสัตว์มีพิษ จึงต้องทำพิธีบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้าเป็นประจำทุกปี

นอกจากนี้ในสมัยราชวงศ์โจวกว่า 2,000 ปีก่อน มีกวีผู้รับใช้ฮ่องเต้อย่างซื่อสัตย์คนหนึ่งนยามว่าช่วยหยวน ซึ่งถูกคนชั่วใส่ร้ายและถูกเนรเทศจึงไปกระโดดแม่น้ำฆ่าตัวตายในวันที่ 5 เดือน 5 ชาวบ้านพากันมาค้นหาศพและนำข้าวเหนียวห่อใบไผ่โยนลงไปในแม่น้ำเพื่อเป็นอาหารปลาป้องกันไม่ให้ปลาไปแทะร่างของช่วยหยวน จึงได้พัฒนาต่อมาเป็นขนมบ๊ะจ่าง ซึ่งเดิมมีเพียงข้าวเหนียวแต่ต่อมาได้มีการใส่ไส้ต่างๆเข้าไปเพิ่มเติมจนเป็นขนมบ๊ะจ่างอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน

ชาวจีนโบราณที่อาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงยังมีการบูชาเทพเจ้ามังกรเพื่อให้ปกป้องคุ้มครองลูกหลานตลอดจนมีประเพณีการแข่งพายเรือมังกรในวันที่ 5 เดือน 5 ซึ่งทำให้เรียกเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างในภาษาอังกฤษว่า ดรากอนโบ๊ทเฟสติวัล อีกด้วย

ปาท่องโก๋

6. ปาท่องโก๋…อาหารแห่งความแค้น

แป้งทอดสีเหลืองกรอบกินกับอะไรก็อร่อย อาหารเช้าของโปรดของใครหลาย คนซึ่งคนไทยเรียกกันว่าปาท่องโก๋นั้นที่จริงแล้วคืออิ้วจาก๊วยที่มีเรื่องราวความเป็นมาย้อนหลังไปในสมัยราชวงศ์ซ่งเมื่อกว่า 800 ปีก่อน มีขุนนางชื่อ ฉินฮุ่ย อิจฉางะร์คฮุย แม่ทัพผู้ซื่อสัตย์ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของฮ่องเต้จึงคอยใส่ร้ายงักฮุยตลอดเวลา จนทำให้ฮ่องเต้หลงเชื่อสั่งประหารชีวิตงักฮุยไปในที่สุดชาวบ้านต่างพากันโกรธแค้นฉินฮุ่ยและภรรยาเป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้จึงนำแป้งมาประกบกันใช้แทนฉินฮุ่ยและภรรยา แล้วเอาลงไปทอดในน้ำมันร้อนๆ เพื่อระบายความแค้นและกลายมาเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมจวบจนทุกวันนี้

ยังมีอาหารจีนที่เก่าแก่และมีที่มาที่น่าสนใจอีกมากมายอย่างขนมเข่งที่เอาไว้ไหว้เจ้าในวันตรุษจีนก็มีความเป็นมาย้อนหลังไปเกือบ 3,000 ปี หรือเปาะเปี๊ยะซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ชาติตะวันตกเมื่อกว่า 1,000 ปีก่อน ก็เป็นอาหารที่หากินได้เฉพาะในฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น

สนับสนุนโดย :: ufabet123